การพระศาสนา ของ เจ้านางยอดแก้ว (ก่องมะณี รามางกูร)

สร้างพระอุโบสถวัดพระมหาธาตุพนม

พ.ศ. ๒๓๔๙ เจ้าอนุวงศ์พระมหากษัตริย์แห่งเวียงจันทน์ พระบรมราชากิตติศักดิ์เทพฤๅยศ (สุตตา) เจ้าเมืองลครพนม และพระยาจันทรสุริยวงษา (กิ่ง) เจ้าเมืองมุกดาหาร ได้ร่วมกันสร้างถนนและสะพานจากริมฝั่งแม่น้ำโขงไปยังองค์พระธาตุพนมปรากฏความบันทึกในพงศาวดารเวียงจันทน์ความว่า ...ศักราชได้ ๑๖๘ ปียี่เจ้าอนุเวียงจันทน์, เจ้าเมืองลครแลบังมุก ได้สร้างขัววัดพระธาตุ... และในปีเดียวกันนี้เจ้าพระยาจันทรสุริยวงษา (กิ่ง) เจ้านางยอดแก้ว (ก่องมะณี) พร้อมพระราชโอรสพระราชธิดา และพระราชนัดดา ได้โปรดให้พระอนุชาทั้ง ๒ เสด็จมาสร้างพัทธสีมาไว้ในวัดพระธาตุพนม ดังความปรากฏในจารึกแผ่นอิฐเผาวัดพระธาตุพนมความว่า ...ศักราชได้ ๑๖๘ ปีฮวายยี่ เจ้าพระยาจันทรสุริยวงษ์ เมืองมุกดาหารกับทั่งปุตตนัตตาภริยา มีอัคคมหาเสนาเจ้าใหญ่ทั้งปวง มีปัสสาทสัทธาในวรศาสนาอันล้ำยิ่ง จึงให้พระยาหลวงเมืองจันทน์ขึ้นมาปัคคัยหะกับขุนโอกาส พร้อมกันโมทนาเจ้าสังฆราชกับทั้งอันเตวาสิก พร้อมกันริจนาสิมมาสืบฮอยมืออรหันตาเจ้าไว้ ขอให้ได้ดังใจจงนิพพานปัจจโยโหตุ...[2]

สร้างวัดกลางเมืองมุกดาหาร

เจ้าพระยาจันทรสุริยวงษา (กิ่ง จันทรสาขา) เจ้าเมืองมุกดาหารองค์ที่ ๒ ได้พร้อมใจกับเจ้านางกอดแก้ว (ก่องมะณี รามางกูร) พระชายาเอกได้ร่วมกันสร้างวัดและสร้างพัทธสีมาขึ้นในวัดกลางเมืองมุกดาหาร[3] นอกจากนี้ยังสร้างพระธาตุขึ้น ๑ ลูก บริเวณด้านหลังของวัด เมื่อ พ.ศ. ๑๓๖๙ เพื่อเป็นศูนย์กลางเมืองและเป็นวัดประจำพระองค์ คนทั่วไปออกนามว่า วัดกลาง หรือวัดกลางเมืองบังมุก เนื่องจากตั้งอยู่กลางเมืองมุกดาหารหาร หันหน้าออกสู่แม่น้ำโขงทางทิศตะวันออก[4] ดังปรากฏความในจารึกแผ่นศิลาเลกวัดยอดแก้วศรีวิชัย ความว่า ...ศักราชได้ ๑๑๘๘ ตัวปีฮวาย เศษเดือน ๖ ขึ้น ๑๓ ค่ำ วันพฤหัสบดี มื้อกาไค้ ภายนอกมี พญาจันทรสุริยวงษ์ เมืองมุกดาหาร แล เจ้านางยอดแก้ว เป็นเค้าเป็นเจ้าศรัทธาแลสิบฮ้อยน้อยใหญ่ทั้งปวงพร้อมกันสร้างพัทธสีมาไว้ในวัดกลางเมืองมุกดาหารกับทั้งปุตตนัดดาพร้อมกันมีใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาต่อเท่า ๕,๐๐๐ วัสสานิพพานปัจจโยโหตุ...[5]

สร้างบัลลังก์พระพุทธรูปวัดศรีบุญเรือง

บูรณะพระเจ้าองค์หลวงวัดศรีมงคล

บูรณะแท่นพระเจ้าหลุบเล็ก

บูรณะหอเจ้าแม่สองนาง